Asian Stamp Rare

Sunday, 7 April 2013

นาข้าวในสามจังหวัดชายแดนใต้ จะกลับเป็นของใคร

        นาข้าวในสามจังหวัดชายแดนใต้ จะกลับเป็นของใคร

ข้าวเป็นเสบียงอาหารที่ห้ามไม่ให้นำออกไปเป็นสินค้าส่งออกมายาวนาน อนุญาตให้นำข้าวพอเป็นเสบียงไว้เดินทางเท่านั้น ราวปีพ.ศ.2398 ข้าวถูกนำมาเป็นข้อแรกที่ตั้งไว้ให้เกิดข้อพิพาทของนักล่าอาณานิคมอังกฤษ ปัจจุบันข้าวก็ยังเป็นประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมืองของรัฐสยาม  การประกันราคากับการรับจำนำข้าวเปลือกถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่าย มีอยู่ช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้เกี่ยวกับเรื่องข้าวเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาใช้เล่ห์กลลวง ขนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญข้าวของไทยไปไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กลายเป็นปัญหาเรื่องข้าวที่โด่งดัง สหรัฐขายข้าวแข็งขันในตลาดโลก เรื่องข้าวก็เงียบหายไปนานพอสมควร ต่อมาก็เกิดเรื่องขึ้นอีก ข้าวไม่ได้ถูกให้เป็นปัญหาโดยตรง กลับเป็นปัญหามีการทุ่มซื้อพื้นที่ทำนาจากนักธุรกิจต่างประเทศ มีชาวอาหรับเข้ามาหว่านเงินซื้อปัจจัยพื้นฐานการผลิตข้าวสาร ผืนนาข้าวเริ่มมีการเปลี่ยนมือ เพื่อนำผลผลิตป้อนส่งต่างประเทศ ไม่แน่ใจว่าจะถูกส่งเข้าไปในแถบกลุ่มประเทศอาหรับหรือไม่ ข้าวไม่น่าจะเพียงพอในตลาดกลุ่มอาหรับ ปัญหาการนำข้าวออกไปจำหน่ายในกลุ่มอาหรับน่าจะมาจากขะบวนการผลิต ที่เราเรียกว่า อาหารฮาลาล จึงจำเป็นต้องซื้อผืนนาข้าวเป็นของตนเอง  ด้วยเหตุผลนี้ทำให้คิดถึงนาข้าวในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย

นาข้าวในสามจังหวัดชายแดนใต้ไม่เหมือนกับนาข้าวในภาคอื่นของประเทศไทย มันมีความแตกต่างกันหลายอย่าง การจะพัฒนาให้เป็นอาชีพหลักคงเป็นไปได้ยาก ด้วยปัจจัยและองค์ประกอบไม่เอื้ออำนวย ลักษณะของดินน้ำซึมผ่านได้ง่าย หากจะคิดลงทุนทำแบบอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ก็คงจะต้องปรับปรุงดินกันเป็นระยะ การลงทุนมันจะคุ้มค่าหรือไม่นั้นมองไม่ออก การทำนาปีหนึ่งจะให้ได้สองหน น่าจะเป็นเรื่องยาก คนในพื้นที่มีทัศนคติไม่เหมือนคนภาคอื่นๆ ข้าวเปลือกในยุ้งฉางใกล้จะหมด จึงค่อยทำนา นาข้าวจะทิ้งล้างปีเว้นปี ภูมิอากาศก็ไม่เอื้ออำนวย ฝนตกหกเดือน มีฤดูแล้งสั้นๆพอจะเก็บข้าวได้  

ก่อนอื่นเราต้องไปศึกษาการทำนาในแทบลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การทำนาสองหนในหนึ่งปีของพื้นที่นี้ ทำได้ในบางปีเท่านั้น ความสมบูรณ์ทางชลประทานมีความพร้อมมากกว่า ลักษณะดินมีความแตกต่างกันกับพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้  วิถีชีวิตการเป็นอยู่มีการแข่งขันสูง จึงมุ่งมั่นตั้งใจจะทำนาสองครั้งต่อปี แต่ชาวนาต้องเฝ้ารอจังหวะธรรมชาติเอื้ออำนวย ต้องกล้าได้กล้าเสี่ยงเมือนเล่นการพนัน เป็นคำพูดของชาวนาในรอยต่อระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา 

หันไปมองตอนล่างลงไปในประเทศมาเลเซีย มีความรู้เพียงแค่ไม่มากนัก เห็นเพียงมีความพยายามจ้างคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ให้เข้าไปรับจ้างทำนา ลูกจ้างของผมในฟาร์มเลี้ยงสัตว์เคยเข้าไปรับจ้างในมาเลเซียระยะเวลาหนึ่งปี ส่ายหัวรับไม่ได้และไม่ไปอีกแล้ว รายได้ไม่คุ้มค่าเหนื่อย ไม่มีเงินเหลือกลับมาในประเทศ งานก็หนัก ของกินก็แพง จะสู้อาชีพพ่อครัวไม่ได้  

พื้นที่นาทางทิศเหนือของสามจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดสงขลาและพัทลุง เป็นพันธุ์ข้าวที่เริ่มได้รับความนิยมในภาคกลาง แต่ก็ไม่แพร่หลายมากนัก มีอยู่ 2 ชื่อที่นิยมนำมาผสมกับข้าวขาวในภาคอื่นๆ 

1. ข้าวช่อลุงในจังหวัดพัทลุง 

2. ข้าวสังหยดในจังหวัดสงขลา 

                                       

ข้าวสองชนิดของสองจังหวัดมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าในเมืองตลอดทั้งปี ผมซื้อมันเป็นประจำ แต่ก็มีจำหน่ายไม่มากเหมือนกับข้าวชนิดอื่น มีความนิยมนำข้าวสองชนิดเข้าผสมกับข้าวขาวจากจังหวัดอื่น รสชาดดูดีกว่ารับประทานข้าวชนิดเดียว มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ไม่มีใครคำนึงถึง เห็นจะเป็นเรื่องการเก็บรักษาข้าวให้มีระยะเวลานานต้องเก็บในที่เย็น

พื้นนาข้าวในสามจังหวัดมักจะนิยมปลูกข้าวช่อลุง เริ่มเห็นมีรถเกี่ยวข้าวในผืนนาบ้างแล้ว แสดงให้เห็นว่าค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น มันเป็นเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ในการอ้างถึงนำเทคโนโลยี่เข้ามาทดแทน ปัญหามาจากข้อกำหนดการผลิตแบบสมัยใหม่ มีข้อที่ว่า การผลิตข้าวต้องสามารถตรวจสอบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางได้ นอกจากนี้ยังต้องทำการผลิตให้ได้ตราประทับฮาลาลด้วย ความพยายามให้สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นต้นทางเริ่มต้นผลิตข้าวเพื่อตอบสนองพื้นที่ในประชาคมอาเซี่ยนซึ่งมีประชากรจำนวนมาก เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบูรไน น่าจะเป็นมุมมองของนักเก่งกำไรในอนาคต มีใครบ้างที่คิดถึงการเกงกำไรเรื่องข้าว มั่นใจได้ว่า เสือเหลืองมาเลเซียไม่พลาดแน่นอน 

โปรดสังเกตุว่า สิ่งที่อ้างมาข้างต้นมีความเป็นไปได้จริงหรือไม่จริง  

ผืนนาข้าวกลายเป็นสวนยางhttp://www.gotoknow.org/posts/35624 ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงจากคนในพื้นที่จริง ผมก็เห็นภาพจริงผ่านตามาจากการผจญภัยในดินแดนแห่งนี้ มีการนำแทรคเตอร์ไถดินให้สูงขึ้น มีร่องน้ำไหลผ่านเป็นเส้นทาง ป้องกันไม่ให้ต้นยางบนคูจมน้ำ ปัจจุบันนี้ก็น่าจะมีต้นยางในที่นาข้าวที่เคยทิ้งล้างเบิกกรีดเอาน้ำยางส่งขาย จำนวนพื้นที่นาทิ้งล้างคงจะเหลือไม่มากในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ยิ่งนาข้าวมีน้อยก็ย่อมเป็นที่หมายปองอยากเป็นเจ้าของ หากย้อนรอยลงไปในอดีต ข้าวในพื้นที่นี้ถือเป็นภาษีที่ต้องเก็บจากชาวบ้าน ช่วงที่เป็นรัฐสยาม การคมนาคมยังไม่ทันสมัยมากนัก ช้างเป็นสัตว์ที่ต้องขนข้าวซึ่งเป็นภาษีจากชาวบ้านนำส่งไปยังจวนผู้ว่าฯ เจ้านายในสามจังหวัดชายแดนใต้ต้องควบคุมช้าง

  ตัวเลขการส่งออกข้าวของไทยไปยังมาเลเซียและอินโดนีเซียค่อนข้างสูง คงจะไม่โยงข้อมูลให้ท่านได้เห็น และก็ได้เข้าไปดูด้วยตาของตนเองในโกดังท่าเรือก็เป็นจริง เรือสินค้าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้ เท่าที่เห็นมีการขนถ่ายข้าว น้ำตาล ไปยังประเทศทั้งสองจำนวนมาก เรือหลายลำมีการขนไม้จากอินโดนีเซียเข้ามาหลายลำ ขาออกจากปากน้ำไม่พลาดที่จะขนข้าวออกไป หากปริมาณข้าวไม่พอเพียงก็จะย้ายไปเอายังประเทศเวียดนามแทน ปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัสดุและการขนส่งแบบใหม่ กำหนดให้มีตู้คอนเทนเนอร์ปิดอย่างมิดชิด การขนถ่ายข้าวแบบเก่ากำลังจะสูญหาย สืบเนื่องมาจากปัญหาถูกขโมยระหว่างเดินทาง ประกอบกับฝนตก ทำให้ยากต่อการขนถ่าย

ผืนนาข้าวกลับมาเป็นของนักการเมืองและของคนมาเลเซีย

Pic_298998


ข้อมูลของรัฐบาลไทยและสื่อสารข่าวในเรื่องราคาที่ดินในสามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด