Asian Stamp Rare

Tuesday, 24 June 2014

Agarwood caused by nature means ไม้หอมกฤษณาที่เกิดโดยธรรมชาติหมายถึง

Agarwood caused by nature meansไม้หอมกฤษณาที่เกิดโดยธรรมชาติ หมายถึง


หากเราตีความหมายว่าไม้หอมกฤษณาที่ได้จากธรรมชาติอย่างผิดๆ พ่อค้า เจ้าหน้าที่รัฐยังได้ผลประโยชน์มหาศาล ผลที่ตามมา ป่าไม้ในธรรมชาติก็ถูกทำลาย ผู้คนที่มีอาชีพสร้างสวนสร้างป่าและประชาชนอีกจำนวนมากไม่ได้รับผลประโยชน์จากไม้หอมดังกล่าว ที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีประชาชนหลายคนที่ต้องหมดทรัพย์สิ้นจำนวนมากมายไปกับคดีความทางกฎหมาย อันด้วยมาจากการตีความหมายที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ เป็นผลดีต่อพ่อค้าจากแดนใต้ สุดท้ายชาวต่างประเทศทั่วโลกก็ได้อนิสงค์เช่นกัน

ภาพแมลงเจาะรูตามธรรมชาติ 

ไม้หอมกฤษณาจากธรรมชาติไม่จำเป็นต้องได้มาจากป่าธรรมชาติเสมอไป เพียงแต่เราสามารถสร้างมันให้พื้นที่นั้นมีสภาพและองค์ประกอบหลายด้านภายใน ต้นไม้สูงใหญ่เนื้อแข็งสลับซับซ้อนด้วยไม้ผลหลากชนิด หรือที่เรียกกันว่า     

                                                        เชิงซ้อนนั่นเอง      แมลงเจาะรูตามธรรมชาติ 

ที่สำคัญควรมีต้นไม้ใหญ่เช่นสะเดาเพื่อช่วยให้กิ่งสะเดาหักโค้นลงมาตีลำต้นของต้นไม้หอม และภูมิอากาศที่ชื้นเพื่อช่วยสร้างแมลงกัดกินต้นไม้หอมด้วย

Penetration caused by insects Cause is natural wood. When we came into the refining of natural wood.

When put into a natural wood distillation. It will be an expensive perfume.

The introduction of natural wood to produce many kinds of medicines.

Spa and massage the smell of myrrh as a natural body.

            
Popular natural wood into the burning smell in the multi-religious cult.

Bringing myrrh, aloes natural to carving. Religious statues

In ancient times, myrrh, aloes, often leading to the temple kept seeing. Based on trust


Ingredients used as a cure for colds, fever and dizziness.

สินค้าส่งออกไปยังประเทศจีน เพื่อนำไปเข้าเครื่องยาจีน และสร้างสิ่งมงคล

สินค้าส่งออกไปยังประเทศกลุ่มอาหรับเพื่อใช้ป้องกันแมลง ไรจากทะเลทราย

สินค้าส่งออกไปยังยุโรป เพื่อผลิตหัวน้ำหอม

สินค้าส่งออกไปยังปรเทศอินเดีย เพื่อไว้ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา

สินค้าส่งออกไปยังประเทศไต้หวัน


สินค้าส่งออกไปยังทวีปอเมริกาเพื่อผลิตยารักษา
ประเทศไทยนำมาผลิตยารักษาโรคทางเดินหายใจ ไข้หวัด

มาเลเซียและอินโดนีเซียนำไปผลิตน้ำหอม และอื่นๆ

สมุนไพรของไทยที่หายาก ทวีปอเมริกานำยาไปใช้

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557ที่ผ่านมา คุณเจสัน เททโทร นักจุลชีววิทยา (Microbiology) และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยประจำหนังสือพิมพ์ ฮัฟฟิงตันโพสต์ ได้เขียนบทความที่ทำให้ “คนไทยในอเมริกา” อย่างผมถึงขั้น “ตัวพอง” ด้วยความปลิื้ม...

บทความของเขาตั้งชื่อว่า Revisiting An Age-Old Thai Therapy to Relieve Diarrhea (ศึกษาการรักษาอาการท้องร่วงแบบโบราณของไทย) ซึ่งในที่นี่เขาเจาะจงไปที่ “ยากฤษณากลั่น ตรากิเลน” ของห้างโอสถสภาเต็กเฮงหยู... ยาไทยโบราณที่คนสมัยใหม่อาจไม่รู้จักแล้ว...

เขาเริ่มต้นบทความโดยการบรรยายถึงอาการของโรคท้องร่วง ว่ามันทำให้ชีวิตของมนุษย์เรายุ่งยากลำบากมานาน แถมเป็นความยุ่งยากที่มนุษย์เราทุกคนต้องเจอกันโดยเฉลี่ยสามครั้งต่อปีเสียด้วย

สาเหตุของอาการท้องร่วงมีมากมาย เช่นติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ แพ้ยาหรือแพ้อาหาร มีผลให้เซลล์ในลำไส้เกิดอาการไม่สมดุล และร่างกายจะพยายามรักษาตัวเองโดยการขับน้ำในร่ายกายเข้าไปในลำไส้ ผลก็คืออาการท้องเสียถึงขั้นถ่ายเป็นน้ำอย่างที่เรารู้ๆ กัน

คุณเจสัน เททโทร บอกว่าสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว อาการท้องร่วงถือเป็นเพียงแค่ “ความไม่สะดวกสบายชั่วคราว” ที่จะหายไปเอง แต่ก็มีเป็นจำนวนมากที่ถึงขั้นต้องนอนซมเป็นวันๆ หรือเป็นสัปดาห์ หรืออาจถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิตเลยก็มี โดยเฉพาะในกรณีของเด็กทารกที่เสี่ยงกับอาการขาดน้ำแบบเฉียบพลัน (dehydration) ซึ่งอันตรายมาก โดยบทความบอกด้วยว่า ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาบางแห่ง อาการของโรคท้องร่วง คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิต

ความพยายามในการหาทางป้องกันและรักษาโรคท้องร่วงนั้น คุณเจสัน เททโทร บอกว่ามีมานานประมาณ 50 ปีแล้ว โดยวิธีรักษาที่เช่ื่อกันว่าง่ายและได้ผลมากที่สุดคือการให้ผู้ป่วยดื่มของเหลวประเภทเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำและสารอาหารต่างๆ ที่สูญเสียไป นอกจากนี้ยังนิยมใช้ “เคมี” ประเภทต่างๆ มาใช้ในการรักษาโรคท้องร่วงอีกหลายชนิด ตั้งแต่ยาสีชมพูประเภท bismuth subsalicylate (เช่น Pepto-Bismol) หรือยาแก้ท้องเดินประเภท loperamide (เช่น Imodium), ยาปฏิชีวนะ และล่าสุดที่มีการนำมาใช้คือ ยาประเภทโปรไบโอติก (probiotics) โดยเฉพาะชนิดที่มีส่วนผสมของแลคโตบาซิลลัส หรือแบ๊คทีเรียชนิดมีประโยชน์ ซึ่งสาวยาคูลท์แนะนำให้คนไทยเรารู้จักมานานแล้ว....

เรื่องของคุณเจสัน เททโทร ทวีความน่าสนใจมากขึ้นเมื่อเขาเริ่มพูดถึงความพยายามเสาะหาการแพทย์ทางเลือกของบรรดานักวิชาการแพทย์กลุ่มเล็กๆ ที่พยายามหาวิธีรักษากับโรคร้ายต่างๆ รวมถึงโรคท้องร่วงผ่าน ‘วัฒนธรรม’ หรือ ‘ประเพณี’ ที่ถ่ายทอดต่อๆ กันมาแต่โบร่ำโบราณ ทั้งของอเมริกาและประเทศต่างๆ ซึ่งศัพท์วิชาการเรียกการแพทย์แบบนี้ว่า การแพทย์เชิงชาติพันธุ์ หรือ Ethnomedicine

ส่วนใหญ่แล้ว นักวิชาการกลุ่มนี้ จะเน้นการศึกษาไปที่บรรดาสมุนไพร ทั้งแบบผสมกันหลายชนิด หรือชนิดที่สกัดมาจากพืชชนิดเดียว ซึ่งเคยใช้ หรือยังคงใช้อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ซึ่งบรรดานักวิชาการเหล่านี้เห็นว่าหากนำ “ของขวัญ” จากธรรมชาติเหล่านี้ มาพัฒนาต่อยอด ก็อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันหรือรักษาโรคร้ายต่างๆ อย่างได้ผลมากขึ้น โดยเจ้าของบทความชิ้นนี้บอกด้วยว่าแม้การแพทย์ทางเลือก จะยังไม่แพร่หลายมากนักในโลกซีกตะวันตก แต่ก็เห็นได้ชัดว่าแรงต้านต่างๆ ได้ลดอย่างมาก เห็นได้จากมีบทความเชิงวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกเผยแพร่กันอย่างมากมาย

โดยเอกสารวิชาการฉบับล่าสุดที่ถูกนำออกเผยแพร่ มาจากทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานฟราน ซิสโก (UCSF) ที่เพิ่งมีการนำออกเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นการศึกษายาสมุนไพรที่คนไทยเราใช้รักษาโรคท้องร่วงอย่างได้ผลมานานนับร้อยปี... ยาชนิดนั้นมีชื่อเรียกว่า “กฤษณากลั่น”
เอกสารจากห้องแล็ปของยูซีเอสเอฟ พูดถึงยากฤษณากลั่นด้วยว่าเป็น “ที่พึ่ง” ของคนไทยย้อนไปได้ไกลถึงปี 1913 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 โน่น โดยพูดถึงเหตุการณ์เมื่อสมาชิกกองเสือป่าของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เกิดป่วยด้วยโรคบิด มีอาการท้องร่วงรุนแรงระหว่างการซ้อมรบท่ี่จังหวัดนครปฐม แต่เสือป่าทั้งกองหายจากโรคร้ายอย่างรวดเร็ว หลังได้ยาสมุนไพร “กฤษณากลั่น ตรากิเลน” ของผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรที่นั่น

ที่บทความละเอาไว้ไม่พูดถึงก็คือว่า หมอสมุนไพร เจ้าของยากฤษณากลั่น ตรากิเลน คือ นายแป๊ะ ชาวจีนที่นำเอาตำราสมุนไพรแก้ท้องร่วงติดตัวมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และเมื่อทรงทราบ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานเข็มเสือป่าเป็นรางวัลให้กับนายแป๊ะ รวมถึงทรงเขียนแนะนำให้ใช้ยากฤษณากลั่น ในพระราชนิพนธ์กันป่วยด้วย และต่อมาก็ได้ทรงพระราชทานนามสกุล “โอสถานุเคราะห์” ให้กับนายแป๊ะใช้สืบต่อวงศ์ตระกูลกันมาจนถึงวันนี้

บทความของคุณเจสัน เททโทร บอกต่อไปว่า จากการวิจัยโดยการใช้ยากฤษณากลั่นกับหนูในห้องทดลองครั้งนี้ ทำให้ได้สมมุติฐานที่น่าเชื่อถือว่า ตัวยามหัศจรรย์ ที่ได้จากต้นกฤษณาตัวนี้ มีสรรพคุณหลักๆ สองอย่างในการป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องร่วง หนึ่งคือการควบคุมไม่ให้ร่างกายสูบฉีดของเหลวจากเซลล์ไปยังลำไส้ และสองคือมีสรรพคุณในการป้องกันการบีบตัวของหลอดอาหาร (peristaltic push)
บทความสรุปในย่อหน้าสุดท้ายว่า ผลการศึกษายาสมุนไพรของไทยเราในห้องแล็ปของสถาบันการศึกษาระดับหัวแถวของอเมริกาครั้งนี้ ไม่เพียงแค่สร้าง “ความหวัง” ให้กับกลุ่มคนที่อยากจะป้องกันหรือรักษาอาการท้องร่วงโดยวิธีทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังสร้างความยอมรับให้เกิดขึ้นกับ “การแพทย์เชิงชาติพันธุ์” มากขึ้น

คุณเจสัน เททโทร บอกว่าไม่ช้าก็เร็ว การแพทย์แผนตะวันตกที่เคยทนงตัวเองว่าลำ้เลิศเหนือใคร จะต้องหันมามองการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น เพราะปัญหาสารพัดชนิดกำลังก่อตัว เช่นปัญหาเชื้อโรคดื้อยา (antibiotic resistance), ปัญหาการเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง (chronic illness) ประเภทต่างๆ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนายาตัวใหม่ๆ หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคก็ถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น แนวคิดในการกลับมาศึกษาทำความเข้าใจกับวิธีการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ใช้กันมาแต่โบร่ำโบราณจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด...

ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าการค้นพบของยูซี ซานฟรานฯ หนนี้ จะมีผลอย่างไรต่อไป จะถึงขั้นมีการผลิตยาแก้ท้องเสียจากต้นกฤษณา ซึ่งมีอยู่เฉพาะในเอเชียออกจำหน่ายที่นี่อย่างเป็นเรื่องเป็นราวหรือไม่...

แต่ที่แน่ๆ เราเชื่อว่าหลังจากที่เอกสารวิชาการชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้างแล้ว... ยากฤษณากลั่น ตรากิเลน ของโอสถสภาเต็กเฮงหยู ตามแผงยาในตลาดไทยทั่วอเมริกา 



No comments:

Post a Comment