ไม้หอมกฤษณา ต้นกำเนิดสร้างเซลล์ทดแทนเมื่อบาดเจ็บ
ไม้หอมกฤษณา ต้นกำเนิดสร้างเซลล์ทดแทนเมื่อบาดเจ็บ
เราคงจะได้ทราบกันบ้างว่าจิ้งจกเป็นสัตว์ที่สามารถสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนได้ ในส่วนของพืชไม่มีใครรู้ว่าพืชก็สามารถสร้างเซลล์ทดแทนได้ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ นายพราน หรือดอกเตอร์ในมหาวิทยาลัย ไม่มีโอกาสได้เห็น ได้รู้ เพราะต้นไม้หอมกฤษณาแต่ละแห่งมีจำนวนน้อย จะพบหาต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นในแห่งเดียวกันจำนวนมาก ค้นหาได้ยาก นอกจากนี้การดำรงชีวิตในพื้นที่เพื่อหาข้อมูลก็ลำบาก ต้องพบกับอุปสรรค ปัญหามากมาย ไม่มีใครอยากเก็บข้อมูลด้วยหลายสาเหตุ ที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ของรัฐยังเป็นเครื่องมือให้กับพ่อค้าแขก และได้หน้ารับการยกย่องจากองค์กรต่างชาติว่า อนุรักษ์ฯ
ทำไมมนุษย์เราเมื่อ 400 ปีที่แล้วซึ่งอาศัยอยู่อีกซีกโลกหนึ่งที่ห่างไกลรู้เรื่องราว แต่เจ้าของพืชที่มีอยู่ไม่รู้เรื่องราวการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนของต้นไม้หอมกฤษณา ประโยชน์หลายด้านอีกมากมายที่ได้รับจากไม้ชนิดนี้ ที่น่าแปลกใจอย่างยิ่ง หลังจากต้นไม้หอมกฤษณาถูกตัดไปแล้ว เซลล์ของทุกส่วนยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกยาวนาน หากเก็บไว้ยิ่งยาวนาน มูลค่าของมันและประโยชน์ใช้สอยก็เพิ่มขึ้น
ความรู้เรื่องต้นกำเนิดการสร้างเซลล์ทดแทนและการรักษาเซลล์ให้ยาวนานตามแบบไม้หอมกฤษณาที่เกิดจากธรรมชาติสร้างตัวมัน น่าจะมาจากชาวจีนนำเรื่องนี้ไปบอกเมื่อหลายพันปี จนทำให้มีเรื่องราวความพยายามรักษาร่างกายของมนุษย์หลังสิ้นลมหายใจ ซึ่งเรียกกันว่า มัมมี่ หลังจากนั้นต่อมาได้เกิดเห็นข้อดีอื่นๆ ตามมา ทุกศาสนาก็ยอมรับว่า ไม้หอมกฤษณาเป็นของล้ำค่ากว่าสินค้าอันใด ปัจจุบันมีการคิดค้นในรูปแบบเดี่ยวกันโดยอาศัยไม้หอมกฤษณาเป็นต้นแบบ ที่เราเรียกกันว่า สเต็มเซลล์ และ จี-โปรทีน
ประโยชน์ของไม้หอมกฤษณาน่าจะได้รับมากกว่า การใช้สเต็มเซลล์และจี-โปรตีน ไม้หอมเมื่อนำไปสกัดเป็นน้ำมัน เมื่อนำมาทาผิวกาย ผลที่ได้รับทั้งภายนอก-ใน คือการซึมผ่านผิว กระตุ้นบำรุงได้ลึก ส่วนภายนอกยังป้องกันไร แมลงจากภายนอก
เรามาดูมาเห็นตัวอย่างจริงจากภาพจุดเริ่มต้น และอาการที่ไม้หอมกฤษณาสร้างเซลล์ทดแทน
กิ่งเล็กๆที่เห็นเป็นการสร้างเซลล์ใหม่ บ่งบอกถึง พื้นที่เซลล์รอบด้านได้รับบาดเจ็บจากแรงหรือสิ่งอื่นใด ลักษณะของบาดแผลทำให้ลำต้นและกิ่ง โน้มเอียงทำมุมตั้งแต่ 0 องศา จนถึง 45 องศา แต่น้อยต้นนักที่จะพบลักษณะต้นไม้หอมกฤษณา เอียงทำมุม 0 องศา
ถึงแม้ต้นไม้หอมกฤษณาจะมีอายุมาก ( 100 ซม.ขึ้นไป) การสร้างเซลล์ทดแทนจะช้ากว่าต้นทีมีอายุน้อย แต่หลังจากหนึ่งปีผ่านไปแล้ว การสร้างเซลล์ทดแทนของต้นอายุมากจะได้เซลล์จำนวนมากกว่าและเร็วกว่าต้นเล็ก
No comments:
Post a Comment