ปัญหาการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การศึกษาในสามจังหวัดชาปัญหาการยแดนภาคใต้
ก่อนที่จะลงไปแก้ปัญหา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราคงจะต้องนำเอาหนังสือ สามก๊กและตำนานสามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง(หน) จำนวน 2100 หน้า มาศึกษาให้เข้าใจ หนทางที่ปลายสุดอาจจะง่ายขึ้นก็ได้ แต่จะต้องปรับบางอย่าง เนื่องจากสถานการณ์ ความก้าวหน้า สังคมที่เปลี่ยนแปลง สภาพดินฟ้าอากาศ ปัจจัยรอบด้าน ภาษา จะเป็นตัวแปรให้เกิดความผิดพลาดได้
ปัญหาแรก การศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นต้นแบบให้นักการศึกษาระดับผู้เชี่ยวชาญต้องนำมาวิเคราะห์ วิจัยกันใหม่ ไม่โทษรัฐบาลและไม่โทษผู้วางระบบการศึกษาของประเทศ มีนักการศึกษาพยายามจะแก้ไขจุดอ่อนของ พ.ร.บ.การศึกษาเพราะเห็นว่า น่าจะล้าสมัย สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ในส่วนของต่างจังหวัดรัฐกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ปกครองและอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมรับหน้าที่กำหนดขอบเขต การพัฒนา การเรียน การสอน กระทำตามรูปแบบโรงเรียนทั่วไปที่ใช้กันอยู่ ไม่เอื้อประโยชน์ให้การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ สาเหตุจุดสำคัญเริ่มต้น องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ประชาชนไทย-พุทธ มุสลิมที่รับเลือกเข้ามา รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านด้วย ไม่มีความรู้พอ การศึกษาก็ต่ำ ครูผู้สอนก็ไม่ได้สำเร็จมาทางการศึกษา คัดเลือกครูผู้สอนเฉพาะในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ครูผู้สอนมุ่งเน้นที่จะสอนตามหลักสูตรที่ส่วนกลางหรือทั่วประเทศกำหนด
ความหมายของการศึกษามีหลายแง่มุม แต่ที่เห็นชัดที่สุดคือ ให้คนในสังคมพัฒนาตนเองและสังคมนั้นต้องยอมรับด้วย หากสังคมเปลี่ยนแปลง สถานศึกษาไม่ปรับตัวเองตาม สังคมย่อมจะไม่ยอมรับ ส่งผลให้สถานศึกษามีผู้ไฝ่หาความรู้น้อยลง อนาคตก็ต้องถูกยุบตัวไป บางยุคบางสมัยสถานศึกษาต้องจ้างหรือติดสินบนให้คนในสังคมเข้ามาเรียนรู้ ในมุมกลับกันทำไมคนในสังคมหลายแห่งยอมจ่ายทรัพย์จำนวนมากเพื่อให้ลูก หลานได้เข้าสถานที่ศึกษานั้น เป็นเพราะสังคมยอมรับว่า เมื่อจบจากสถานที่นี้แล้ว ย่อมจะทำให้ลูก หลานมีอนาคตที่ดี
การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้มีความแตกต่างกับที่อื่น ในเขตอำเภอเมืองแบบหนึ่ง แต่เขตนอกเมือง เทศบาล ตำบลก็อีกอย่างหนึ่ง หากเราดูจากภายนอก โรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนใต้แบ่งเป็นสองแบบ แบบที่หนึ่งโรงเรียนของรัฐทีมุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบภาคส่วนกลาง ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมพอจะมีพื้นฐานศึกษาต่อในระดับอื่น หรือสามารถดำรงชีวิต ประกอบอาชีพได้บ้างในพื้นที่ ผลสำเร็จหรือเป้าหมายเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แบบที่สองกินพื้นที่กว้าง สังคมยอมรับได้มากกว่าคือโรงเรียนสอนศาสนาควบรวมสายสามัญ ความมุ่งหวังในผลสำเร็จต้องการมากกว่าแบบที่รัฐและคนภายนอกเห็นคือ คาดหวังให้ผู้ต้องการเรียนรู้ มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกภายหน้า ทั้งสองแบบที่กล่าวข้างต้นเดินขนานกันมายาวนานเกือบหกสิบปี
การแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนนี้ ทำให้เห็นจำนวนนักเรียนที่แตกต่างและยังส่งผลให้แบ่งแยกนักเรียนออกเป็นสองกลุ่มสองศาสนา ทั้งที่ครูผู้สอนไม่ได้คำนึงถึงศาสนาก็ตาม จำนวนโรงเรียนสอนสอนศาสนาแบบควบรวมสายสามัญดูจะมีน้อยกว่า แต่เมื่อหากเปรียเที่ยบจำนวนนักเรียนจะมากกว่าหลายเท่า
ในเขตนอกเมืองที่โรงเรียนใช้การเรียนการสอนแบบส่วนกลางที่รัฐจัดให้ ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนในตัวเมือง ไม่สามารถแย่งชิงนักเรียนได้ สาเหตุตัวนักเรียนไม่มีความพร้อมในการเรียน ด้วยปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง ยาเสพติด สิ่งยั่วยุต่างๆ นอกจากนี้นักเรียนและผู้ปกครองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องแข็งขันหาความรู้เหมือนที่อื่นๆ จบการศึกาษาขั้นพื้นฐานออกมารับจ้าง กรีดยาง ทำสวน บางคนที่โชคดีเรียนต่อระดับมัธยมเพราะมีรัฐอุดหนุน ความตั้งใจที่จะเรียนก็มีไม่มาก มีเด็กสิทธิพิเศษลูกหลานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้รับสิทธิไปเรียนโรงเรียนชื่อดังในต่างจังหวัด เทอมเดียวเท่านั้นก็เก็บเสื้อผ้ากลับมาเรียนต่อในจังหวัดของตัวเอง เพราะเรียนไม่ไหว เรียนตามเพื่อนไม่ทัน พ่อแม่อ้างว่า เด็กคิดถึงบ้าน ข้อแก้ตัวของคนในพื้นที่นั้นมีบ่อยครั้ง
หันกลับมามองโรงเรียนสอนศาสนานอกเขตอำเภอเมืองหลายโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก มีรถบัสรับส่งนักเรียนมากกว่าโรงเรียนสอนสามัญในเขตเมือง จำนวนนักเรียนสอนศาสนาในเขตเทศบาล ตำบล ความกระตือรือล้นหรือความอยากมาเรียนดูจะมากกว่านักเรียนในส่วนของสายสามัญแบบส่วนกลาง จำนวนรถบัสที่ไม่เพียงพอ ยังมีรถกระบะเสริมอีกหลายคันรถบริการรับส่ง ในวันเสาร์ก็ยังเปิดสอนเพิ่มเติม เป้าหมายของการศึกษาแบบนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสุขในชีวิตปัจจุบันและโลกภายหน้า ตามความเชื่อถือหลักศาสนา
สงครามทางการศึกษา
ระหว่างโรงเรียนสอนศาสนากับโรงเรียนสอนสายสามัญแบบส่วนกลาง
คนทั่วไปมองว่าโรงเรียนสอนศาสนาแบบควบรวมสายสามัญ ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา มุมมองนี้เป็นข้อขัดแย้งกับการยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคมเขตรอบนอก เป็นที่น่าแปลกมากที่ปริมาณนักเรียนโรงเรียนสอนศาสนาแบบควบรวมกลับเพิ่มขึ้นทุกปี มีการตั้งคำถามข้อสงสัยว่า มันไม่ผิดที่คนในสามจังหวัดชายแดนใต้สร้างการศึกษาของตัวเองขึ้นมาตรงกับความหมาย ตอบสนองสังคม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานไม่ควรมีความคิดที่เป็นอคติ มุมลบจนมากเกินไป ผลสำเร็จที่ได้จากการศึกษาในสองรูปแบบจะออกมาให้เห็นภายหลังประชาคมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกัน
ไม่น่าจะมีการโจมตีผู้ต้องการส่งเด็กนักเรียนเข้ารับความรู้ในโรงเรียนทั้งสองแบบนี้ เพราะจะส่งผลเสียอื่นๆตามมาในภายหลัง ยกตัวอย่าง การเอาชนะเอาความพ่ายแพ้กันด้วยชีวิตของผู้ให้ความรู้เป็นที่ตั้ง น่าจะปล่อยให้สู้กันด้วยการแข่งขันตามที่สังคมรอบด้านยอมรับเหมือนกับที่อื่นๆกำลังทำ ความสำเร็จขั้นสุดท้าย การปล่อยให้การศึกษาทั้งสองแบบแยกตัวไปเป็นอิสระ ไม่มีการอุดหนุนเงิน ไม่มีเด็กสิทธิพิเศษ และข้อพิเศษใดๆ
การนำเสนอข้างต้นของข้าพเจ้าไม่มีการลอกเลี่ยนแบบ หรือนำข้อมูลใดมาเป็นแบบอย่าง ได้เขียนขึ้นตามความจริงที่ได้เห็น และผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตในดินแดนแห่งนี้ ผู้อ่านสามารถโต้แย้งคัดค้านได้ตามทัศนคติของท่าน แต่หากท่านใดทำเรื่องโดยยื่นเป็นหนังสือกล่าวหาว่า ผู้เขียนไม่เคยผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตในสามจังหวัดชายแดนใต้ สามารถสืบความได้จากบุคคลที่สาม ผู้โต้แย้งด้วยหนังสือจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และอื่นๆ
เห็นจั่วหัวว่าสามก๊ก
ReplyDeleteตามด้วยการสนับสนุนการศึกษาในแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ 3 จว.ชายแดนใต้
อ่านแล้วรู้สึกเหมือนเป็นการแบ่งแยกกันตั้งแต่พื้นฐานวัยเรียน
ให้อยู่กันไปแบบแผ่นดินเดียวกัน แต่คนละภาษา คนละวัฒนธรรม
แต่ถ้านั่นเป็นวิธีที่จะทำให้แผ่นดินสงบสุข มันก็น่าสนใจดีนะครับ
และเห็นด้วยที่ว่าถ้าประชาคมอาเชียนเปิดเมื่อไหร่
การศึกษาที่มีมิติอันหลากหลาย จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า
ในยุโรป อเมริกา และเอเซียหลายประเทศ ก็มีลักษณะความหลายหลาย แต่คนทั่วไปแบ่งแยกได้ออก ยอมรับข้อแตกต่างได้ ทางทิศใต้คนใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่ตอนกลางใช้ภาษาอังกฤษ เขาก็ยังปล่อยให้ภาษาในท้องถิ่นและการศึกษาใช้ภาษาฝั่งเศส
Deleteปัญหามาจาก ส่วนกลาง ข้าราชการ นักการเมือง ฯลฯ มีจิตใจคับแคบ พยายามสร้างให้เกิดเงื่อนไขไว้ เพื่ออะไร